วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555

คำนำ

คำนำ
เอกสารนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาคณิตศาสตร์  2  ปริญญาโท คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชา             คณิตศาสตรศึกษา ซึ่งคณะผู้จัดทำได้รวบรวมเนื้อหาในเรื่องแคลคูลัส ตลอดจนการประยุกต์ใช้
ผู้จัดทำหวังว่าเอกสารฉบับนี้จะให้ความรู้ และเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุก ๆ ท่าน   

หน้าปก

แคลคูลัส
Calculus



จัดทำโดย
นางสาวจินดามณี   ทองสวัสดิ์       เลขที่ 9
นางสาวฐิติกานต์  กันตรง              เลขที่ 11
นางสาวพันทิพา  จันทร์เถื่อน         เลขที่ 16
นางศิวริน  เกณทวี                          เลขที่ 19



สาขาวิชา คณิตศาสตรศึกษา    
คณะวิทยาศาสตร์
               มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บทความคณิตศาสตร์ โดยนางสาวฐิติกานต์ กันตรง

ปัญหาการเรียนรู้เรื่องเศษส่วนของนักเรียน
                                                                ฐิติกานต์  กันตรง

                การเรียนการสอนในชั้นเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เนื้อหาเรื่องเศษส่วนนั้น
เป็นเนื้อหาที่มีความสำคัญเรื่องหนึ่งในระดับประถมศึกษา เพราะเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนเนื้อหาเรื่องต่าง ๆ ของคณิตศาสตร์เช่น เรื่อง ทศนิยม ร้อยละและบทประยุกต์ หรือเนื้อหาในระดับที่สูงขึ้น เช่น ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในเรื่องสมการ อัตราส่วนและร้อยละ เศษส่วนพหุนาม เป็นต้น ซึ่งเป้าหมายของการเรียนเรื่องเศษส่วนคือ มุ่งให้นักเรียนมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความรู้ที่เป็นพื้นฐานของเศษส่วนได้แก่ เศษส่วนที่มีค่าเท่ากัน เศษส่วนอย่างต่ำ การเปรียบเทียบเศษส่วนและการเรียงลำดับเศษส่วน   นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นให้นักเรียนมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการบวก การลบ การคูณและการหารเศษส่วน สำหรับเรื่องโจทย์ปัญหาเศษส่วนนั้น มุ่งเน้นให้นักเรียนสามารถวิเคราะห์โจทย์หาคำตอบและแสดงวิธีทำ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้ (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2549 : 137 - 138)
                ปัญหาต่างๆ ที่ครูผู้สอนมักจะพบอยู่เสมอ นั่นคือ นักเรียนขาดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความหมายของเศษส่วนและการดำเนินการของเศษส่วน เช่น
                1. การเขียนรูปภาพแทนเศษส่วน นักเรียนเกิดความสับสนระหว่างการเขียนรูปภาพแทน
เศษส่วนจากของหนึ่งหน่วยและเศษส่วนจากของหนึ่งกลุ่ม
               2. การทำให้เป็นเศษส่วนอย่างต่ำ นักเรียนคิดว่าเศษส่วนอย่างต่ำคือ เศษส่วนที่ไม่สามารถ
นำจำนวนใด ๆ มาหารได้อีก โดยนักเรียนไม่ได้คำนึงว่า จำนวนที่นำมาหารนั้นจะต้องเป็นจำนวน
เดียวกันทั้งเศษและส่วน
                3. การทำจำนวนคละให้เป็นเศษเกิน นักเรียนพยายามเปลี่ยนรูปจากจำนวนคละให้เป็น
เศษเกิน โดยไม่คำนึงถึงหลักการถูกต้อง
                4. การบวกและการลบเศษส่วน นักเรียนดำเนินการคล้ายการบวกและการลบจำนวนเต็ม โดยการนำตัวเศษบวกตัวเศษ และตัวส่วนบวกตัวส่วน
                5. การคูณเศษส่วน นักเรียนจำหลักการคูณที่กล่าวว่า การนำเศษคูณเศษและนำส่วนคูณ
ส่วน เมื่อพบปัญหาการคูณจำนวนเต็มด้วยเศษส่วน หรือการคูณเศษส่วนด้วยจำนวนเต็ม
นักเรียนจะพยายามนำจำนวนเต็มนั้น คูณทั้งเศษและส่วน
                6. การหารเศษส่วนพบปัญหาเช่นเดียวกับการคูณเศษส่วนคือ นักเรียนจำเพียงหลักการ
ที่กล่าวว่า เปลี่ยนเครื่องหมายหารเป็นเครื่องหมายคูณ จากนั้นกลับเศษเป็นส่วน และเมื่อพบ
ปัญหาการหารเศษส่วนด้วยจำนวนเต็ม นักเรียนคิดว่าการกลับเศษส่วนสามารถกลับได้เฉพาะ
ตัวที่เป็นเศษส่วน สำหรับอีกกรณีนั้นคือ การหารเศษส่วนด้วยเศษส่วนนักเรียนมักกลับเศษส่วนของตัวตั้ง

                เมื่อนักเรียนขาดความคิดรวบยอดในเนื้อหาต่าง ๆ ของเศษส่วนแล้ว ทำให้นักเรียนขาดทักษะการคิดคำนวณ เช่น นักเรียนไม่สามารถคิดคำนวณในเรื่องที่เกี่ยวกับความรู้พื้นฐานของเศษส่วน และการดำเนินการของเศษส่วนได้อย่างถูกต้องตามหลักการ รวมทั้งไม่สามารถจัดลำดับขั้นตอนวิธีการนั้นอย่างเป็นระเบียบ ขาดกระบวนการคิดที่หลากหลาย ขาดความคล่องแคล่ว รวดเร็วและแม่นยำในการแก้ปัญหาเรื่องเศษส่วนด้วย
                สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว คาดว่าสาเหตุเกิดจากหลายปัจจัย เช่น การสอนของครู    ที่มักสอนตามเนื้อหาจากเอกสารประกอบการเรียนการสอนซึ่งมีการเรียงลำดับเนื้อหาจากการทบทวนความรู้พื้นฐานของเศษส่วน การบวกลบเศษส่วน การบวกลบจำนวนคละ โจทย์ปัญหาการบวกลบเศษส่วน การคูณเศษส่วน การคูณจำนวนคละการหารเศษส่วน การหารจำนวนคละ โจทย์ปัญหาการคูณหารเศษส่วน การบวก ลบ คูณ หารเศษส่วนระคนและโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณหารเศษส่วนระคน  ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าในการเรียงลำดับเนื้อหานั้น เรื่องจำนวนคละถูกจัดลำดับไว้ในตอนท้ายของเนื้อหาเรื่องการบวกลบเศษส่วน และเรื่องการคูณหารเศษส่วน ซึ่งการจัดเรียงเนื้อหาในลักษณะนี้ อาจส่งผลให้การเรียนรู้ของนักเรียนบางคนเกี่ยวกับจำนวนคละเกิดความไม่ต่อเนื่องกล่าวคือ นักเรียนลืมเกี่ยวกับการเปลี่ยนจำนวนคละให้เป็นเศษเกิน ดังนั้นเมื่อต้องเรียนเรื่องจำนวนคละที่จัดเรียงไว้แยกส่วนกัน จึงต้องมีการทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับการเปลี่ยนจำนวนคละให้เป็นเศษเกินในหลาย ๆ คาบซ้ำซ้อนกัน ทำให้เสียเวลาในการเรียนการสอน  ในส่วนของรูปแบบการนำเสนอของครูนั้น ครูส่วนใหญ่ให้นักเรียนรู้จักเศษส่วนจากสิ่งของหนึ่งหน่วยและเศษส่วนจากสิ่งของหนึ่งกลุ่ม จึงทำให้นักเรียนส่วนใหญ่เกิดความสับสนและขาดความชัดเจนต่อการทำความเข้าใจเนื้อหา ทำให้การเรียนรู้เนื้อหาเศษส่วนในเรื่องต่อไปเกิดข้อผิดพลาดด้วย สำหรับตำราเรียนหรือเอกสารที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนนั้น มีลักษณะที่ไม่ส่งเสริมให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเท่าที่ควรกล่าวคือ เอกสารประกอบการเรียนการสอนส่วนมากบอกนิยามหรือหลักการเป็นอันดับแรก จากนั้นจึงยกตัวอย่างที่ไม่ซับซ้อนเพื่ออธิบายหลักการพร้อมให้แบบฝึกหัด ในขณะที่แบบฝึกหัดบางส่วนจะมีความยากและซับซ้อน ทำให้นักเรียนส่วนใหญ่ทำแบบฝึกหัดไม่ได้ทุกข้อ
สำหรับการฝึกทักษะการคิดคำนวณ ครูเน้นให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดมากกว่าการฝึกทักษะการคิดคำนวณ ทำให้นักเรียนขาดทักษะที่เพียงพอในการแก้ปัญหา เพราะในการทำแบบฝึกหัดนั้นจะต้องอาศัยทักษะหลายทักษะเช่น การบวกเศษส่วนที่มีส่วนไม่เท่ากัน นักเรียนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและทักษะเกี่ยวกับการทำส่วนให้เท่ากัน การบวกเศษส่วนที่มีส่วนเท่ากันและเศษส่วนอย่างต่ำ เป็นต้น
                เมื่อครูได้วิเคราะห์ถึงสาเหตุต่าง ๆ อย่างครบถ้วนแล้ว จึงควรแก้ปัญหานั้นให้ตรงจุดเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นและสามารถทำให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความหมายของเศษส่วนและการดำเนินการของเศษส่วน

บทความคณิตศาสตร์ นางศิวริน เกณทวี เลขที่ 19

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์
ใน ชีวิตประจำวันเราอยู่กับ เหตุการณ์ ต่าง ๆ และมีคำถามอยู่ในใจตลอดเวลา เช่น
                   - วันนี้จะไปดูหนังหรือไม่            - บางทีเราต้องไปเยี่ยมย่าวันนี้
                             - ฝนจะตกและน้ำจะท่วม                    - ทีมตระกร้อทีมใดจะได้เป็นแชมป์  
คำว่า " ความน่าจะเป็น " หรือ "probability" เป็นวิธีการวัดความไม่แน่นอนในรูปแบบคณิตศาสตร์ เช่น เมื่อโยนเหรียญ ความน่าจะเป็นของเหรียญที่จะออกหัวหรือก้อยเท่ากับ 0.5 ดังนั้นเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอนาคตเป็นสิ่งที่ยากจะคาดเดาได้ถูกต้องร้อยเปอร์เซนต์ นักอุตุนิยมวิทยาจึงใช้หลักการของความน่าจะเป็นเข้ามาทำนาย เช่น ความน่าจะเป็นของการเกิดฝนตกใน กรุงเทพมหานคร ในวันพรุ่งนี้มีค่าเท่ากับ 0.7 ความน่าจะเป็น เป็นค่าที่อาจมีความหมายที่หลายคนเข้าใจได้ไม่ยาก ความน่าจะเป็น เป็นศาสตร์ที่มีความละเอียดอ่อนที่จะนำไปประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันต่าง ๆ ความน่าจะเป็นมีการกำหนดค่าเป็นเศษส่วนหรือเป็นเปอร์เซนต์หรือให้มีค่าระหว่าง 0 ถึง 1 เช่น ถ้านำเหรียญบาท โยนลงบนพื้น โอกาสที่จะปรากฎหน้า 1 มีค่าเท่ากับ 1/2 หรือ 50 เปอร์เซนต์
ประวัติของความน่าจะเป็นแบบเบย์
ปิแยร์ ซิมง ลาปลาซ (1749 - 1827)
ชื่อเรียก "แบบเบย์" เพิ่งจะมาใช้ในราวปี ค.ศ. 1950 โดยมีต้นกำเนิดมาจากชื่อของ โทมัส เบย์
ผู้ซึ่งเสนอทฤษฎีบทของเบย์เป็นคนแรก (เท่าที่ทราบในประวัติศาสตร์). ในเวลาถัดมาปิแยร์ ซิมง ลาปลาซได้
เสนอทฤษฎีบทของเบย์เช่นกัน โดยในขณะนั้นลาปลาซไม่ทราบว่ามีงานของเบย์อยู่. ทฤษฎีบทของเบย์เวอร์ชัน
ลาปลาซถูกนำไปใช้งานอย่างกว้างขวางชนิดที่ตัวของเบย์เองก็อาจคาดไม่ถึง (ทั้งนี้เนื่องจากการแปลความหมายของ ความน่าจะเป็น ของลาปลาซนั้นกว้างมากอย่างที่ได้กล่าวเอาไว้ในบทนำ) โดยลาปลาซได้นำไปในประยุกต์ใช้ในปัญหาของกลศาสตร์
, ดาราศาสตร์, สถิติการแพทย์ (medical statistics) หรือแม้แต่ นิติศาสตร์
ลาปลาซได้ใช้ทฤษฎีความน่าจะเป็น(แบบเบย์) ในการทำนายมวลของดาวเสาร์โดยใช้ข้อมูลของวงโคจรดาวเสาร์ที่มีอยู่ในขณะนั้น โดยลาปลาซมั่นใจผลการทำนายมากถึงขนาดกล่าวว่า "ผมพนัน 1 ต่อ 11000 ว่ามวลของดาวเสาร์จะคลาดเคลื่อนไม่เกิน 1/100 ของมวลที่ผม        คำนวณได้". ถ้าเขายังมีชีวิตอยู่ไปอีก 150 ปี ลาปลาซคงจะได้ทราบว่าตัวเองชนะพนัน เนื่องจากในเวลานั้นพบว่ามวลของดาวเสาร์มีความคลาดเคลื่อนจากผลการคำนวณของลาปลาซเพียง 0.63%. สังเกตว่าไม่มีทางที่เราจะใช้ทฤษฎีความน่าจะเป็นเชิงความถี่ในปัญหานี้ได้เลย (ไม่สามารถสร้างการทดลองเชิงแนวคิดที่ว่า "ทดลองสร้างดาวเสาร์มา N ครั้ง มี M ครั้งที่ ..."
ได้อย่างสมเหตุสมผล)
ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์
ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์  คือ  จำนวนที่แสดงให้ทราบว่าเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง   มีโอกาสเกิดขึ้นมากหรือน้อยเพียงใด
ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์   =  จำนวนผลที่จะเกิดขึ้นในเหตุการณ์นั้นจำนวนผลทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้
สูตร
เมื่อ   P (E)   คือ  ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์  E
 
      n (E)   คือ  จำนวนผลที่จะเกิดขึ้นในเหตุการณ์  E
       n ( S)  คือ  จำนวนผลทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้
นางศิวริน  เกณทวี  หมู่เรียน วท.ม.ค.ศ.5  สาขาคณิตศาสตรศึกษา     เลขที่  19

บทความคณิตศาสตร์ นางสาวพันทิพา จันทร์เถื่อน

การแก้ปัญหาที่พบในการบวกลบจำนวนเต็ม
            ในการสอนเกี่ยวกับการบวก การลบจำนวนเต็ม เป็นปัญหามากสำหรับครูผู้สอน  มีนักเรียนระดับชั้น ม. 1 จำนวนไม่น้อยที่ยังเกิดความสับสนกับการบวก การลบจำนวนเต็ม    ซึ่งในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนบวกลบเลขที่เป็นจำนวนเต็มบวกแต่เมื่อเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนจะต้องเจอจำนวนเต็มลบ     และการบวก การลบจำนวนเต็มลบ   จึงเกิดความสับสน
            ผู้สอนจึงได้แบ่งนักเรียนออกเป็น  4  กลุ่มและได้แจกบัตรตัวเลขซึ่งมีจำนวนเต็มลบ   จำนวนเต็มบวก   เครื่องหมาย บวก   ลบ  ให้แก่นักเรียน    หลังจากนั้นแจกแถบประโยคคำสั่งให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม กลุ่มละ 1 ชุด และให้นักเรียนทำตามคำสั่งในประโยคนั้น    ซึ่งในแต่ละชุดมีดังนี้
1)            จงนำจำนวนเต็มลบ  บวกกับจำนวนเต็มลบ เช่น   [(-3) + (-5)]  ผลลัพธ์ คือ (–8)
2)            จงนำจำนวนเต็มบวก ลบกับจำนวนเต็มลบ  เช่น    [9 – (-5) ]  ผลลัพธ์ คือ 14
3)           จงนำจำนวนเต็มลบบวกกับจำนวนเต็มบวก  เช่น   [ (-9) + 5]  ผลลัพธ์ คือ   (- 4)
4)           จงนำจำนวนเต็มลบ ลบกับจำนวนเต็มลบ   เช่น    [(-8) – (-5) ]  ผลลัพธ์ คือ  (-3)
หลังจากให้นักเรียนได้ได้จัดเรียงตามคำสั่งสักครู่หนึ่ง   ผู้สอนจะตั้งปัญหาให้เด็กคิด   ในประโยคคำสั่งหากต้องการคำตอบนักเรียนจะมีวิธีการหาอย่างไร  นักเรียนจะช่วยกันหาคำตอบแล้วจดวิธีการที่จะได้คำตอบลงในสมุด  เมื่อนักเรียนทำไปเรื่อยจากข้อ 1 ถึงข้อ 4   เสร็จ  ครูแจกคำตอบของแต่ละข้อ  เพื่อเปรียบเทียบกับคำตอบของนักเรียน  เมื่อคำตอบที่ได้ไม่ตรงกับเฉลย  นักเรียนจะพยายามหาคำตอบให้เหมือนกับที่เฉลย  ผู้สอนจะคอยช่วยชี้แนะเกี่ยวกับการหาคำตอบ  จนนักเรียนสามารถหาคำตอบเองได้   
จากตัวอย่างนี้จะเห็นได้ว่า  ผู้สอนต้องตั้งปัญหาให้นักเรียนคิดและหาคำตอบด้วยตัวเอง  ขณะที่พยายามแก้ปัญหา   ถ้ามีปัญหาย่อยเกิดขึ้นต้องแก้ปัญหาย่อยก่อน  หน้าที่ของผู้สอนคือจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ให้มากที่สุด  และ คอยช่วยเหลือเมื่อนักเรียนเกิดปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขเองได้


                                                                        นางสาวพันทิพา   จันทร์เถื่อน      หมู่เรียน วท.ม.ค.ศ.5
                                                                        สาขาคณิตศาสตรศึกษา                 เลขที่  16

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

จิตวิทยา

จิตวิทยา
ความหมายและความเป็นมาของจิตวิทยา
วิชาจิตวิทยากำเนิดเริ่มต้นมาจากต่างประเทศเมื่อหลายปีมาแล้ว คำว่าจิตวิทยา Psychology มีรากศัพท์มาจาก   Psyche - - - - - - - Psycho = วิญญาณ (Soul)
        Logos - - - - - - - - logy     = การศึกษา Psycho + logy - - - - - - - - Psychology
จึงหมายถึง วิชาที่ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวิญญาณหรือจิตใจของสิ่งมีชีวิต
ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19
หลังคริสต์ศตวรรษที่ 19
จิตวิทยา วิชาที่ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวิญญาณหรือจิตใจของสิ่งมีชีวิต (Psychology)
วิลเฮล์น แมกซ์วุ้นต์ ( Wilhelm Max Wundt ) เป็นคนที่เปิดห้องทดลองจิตวิทยาแห่งแรกของโลก ที่มหาวิทยาลัย ไลป์ซิก ( Leipzing ) จึงได้สมญานามว่า บิดาแห่งจิตวิทยาการทดลอง
จิตวิทยา คือวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์และสัตว์ (Psychology is the study of Bahavior )
วัตสัน ( Wetson ) เป็นคนแรกที่ให้ความหมาย จิตวิทยาเป็น พฤติกรรม ( Bahavior ) จนมีความหมายมาถึงปัจจุบันว่า วิชาที่ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์และสัตว์ จึงได้สมญานามว่า บิดาแห่งพฤติกรรม บิดาแห่งจิตวิทยายุคใหม่
สาขาของจิตวิทยา
1.       จิตวิทยาสังคม (Social Psychology ) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ หรือกับสังคม
2.       จิตวิทยาพัฒนาการ ( Developmental เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆ ของมนุษย์ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา
3.       จิตวิทยาการเรียนการสอน ( Psychology in Teaching and Learning ) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเรียนการสอนและสิ่งที่ส่งเสริมให้บุคคลได้เกิดการเรียนรู้
4.       จิตวิทยาคลีนิค ( Clinical Psychology ) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุพฤติกรรมผิดปกติของมนุษย์ และวิธิการบำบัดรักษา
5.  จิตวิทยาการเรียนรู้ (Psychology of Learning ) เป็นการศึกษาธรรมชาติการเรียนรู้ และองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้
6.       จิตวิทยาประยุกต์ ( Applied Psychology ) เป็นการนำหลักการต่าง ๆ ทางจิตวิทยามาใช้ในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพ เช่น ธุรกิจ อุตสาหกรรม การเมือง การติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ
7.       จิตวิทยาทั่วไป ( General Psychology ) เป็นการนำเอาหลักทั่วไป ทางจิตวิทยาไปใช้เป็น พื้นฐานทางการศึกษา จิตวิทยาสาขาอื่น ๆ และในการประกอบอาชีพทั่ว ๆ ไป หรือใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน
จิตวิทยาการศึกษา ( Education Psychology) วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การเรียนการสอน โดยเน้นพฤติกรรมการเรียนรู้ การพัฒนาความสามารถของผูเรียน ตลอดจนวิธีการนำความรู้ ความเข้าใจ ที่เกิดขึ้นประยุกต์ใช้ในการสอนให้ได้ผลดี
จิตวิทยาการศึกษา ความมุ่งหมายและประโยชน์ มีดังนี้
1.       จุดมุ่งหมาย จิตวิทยาการศึกษาเน้นในเรื่องของการเรียนรู้ และการนำไปประยุกต์ในการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ตรงกับเป้าหมายการเรียนรู้อย่างแท้จริง จุดมุ่งหมายนี้ต้องครบทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความคิด ด้านอารมณ์ และด้านการปฏิบัติ
2.       ด้านการเรียนการสอน ช่วยให้ครูเข้าใจเด็ก สามารถจัดการสอนให้สอดคล้องกับความ ต้องการ สนใจความถนัดเชาวน์ปัญญาของเด็ก
3.       ด้านสังคม ช่วยให้ครู นักเรียน เข้าใจตนและผู้อื่น ปรับปรุงพฤติกรรมตนเอง
4.       ปกครองและการแนะแนว ให้ครูเข้าใจเด็กมากขึ้น อบรมแนะนำ ควบคุมดูแลในเด็กอยู่ในระเบียบ เสริมสร้างบุคลิกภาพ ปรับตัวได้อย่างเหมาะสม
พฤติกรรม ( Behavior)
การกระทำทุกอย่างที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต ไม่ว่ารู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ไม่ว่าผู้อื่นจะสังเกตการกระทำได้หรือไม่ก็ตาม การยิ้ม การหัวเราะ ดีใจ เสียใจ การคิด การฝัน การเต้นของหัวใจ พฤติกรรม แบ่งเป็น 2 ประเภท

พฤติกรรมภายนอก ( Overt Bahavior)
พฤติกรรมภายใน ( Covert Bahavior)
พฤติกรรมที่สามารถสังเกตได้โดยตรง หรือใช้เครื่องมือวัดได้ เช่น การพูด การเดิน ฯ ล แบ่งได้ 2 ประเภท
1.       พฤติกรรมโมลาร์ ( Molar B.) วัดได้โดยตรงจากประสาทสัมผัส ทั้ง 5 เช่น การเดิน การนั่ง
2.       พฤติกรรมโมเลกุล ( Molecula B.) ไม่สามารถวัดได้โดยประสาทสัมผัส แต่วัดได้โดยเครื่องมือ เช่น วัดการเต้นของหัวใจ
พฤติกรรมที่ไม่สามารถวัดโดยตรง และเครื่องมือก็ไม่สามารถวัดได้ ต้องอาศัยการอนุมาน จากพฤติกรรมภายนอก เช่น การจำ ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก เจตคติ

แนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1.กลุ่มโครงสร้างจิต (Structuralism) - วุ้นด์ (Wilhelm max Wundt)
- ทิชเชนเนอร์ (Titchener)
- เฟชเนอร์ ( Fechner)
วุ้นด์ (Wilhelm max Wundt) เป็นคนแรกที่ตั้งห้องทดลองทางจิตวิทยาขึ้น ที่เมือง ไลป์ซิก เป็นการเริ่มต้นการศึกษาจิตวิทยาตามวิธีการวิทยาศาสตร์ จึงได้ชื่อว่าบิดาแห่งจิตวิทยาการทดลอง Wundt เชื่อว่าจิตมนุษย์ประขึ้นด้วยลักษณะเป็นหน่วยย่อย ๆ เรียกว่า จิตธาตุ (Mental element) 2 ส่วน คือ
1.    การสัมผัส (Sensation)
2.    ความรู้สึก (Feeling) ต่อมา ทิชเชนเนอร์ (Titchener)ได้เพิ่มโครงสร้างจิตอีก 1 ส่วน คือ
3.    จิตนาการ (Image)
กลุ่มโครงสร้างจิตจะวัดและบันทึกกระบวนการต่าง ๆ โดยวิธีที่เรียกว่า Introspection (การสังเกตพฤติกรรมที่เกิดกับตนเอง แล้วอธิบายเกี่ยวกับปฏิกิริยาของตนต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นทางประสาทสัมผัส ศึกษาจิตสำนึก (Consciousness)แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา จิตของคนแยกเป็นส่วน ๆ ทำให้เกิดแนวคิดว่า ดังนั้นถ้าเราต้องการให้ส่วนไหนมีความสามารถหรือทักษะด้านใด ก็ฝึกส่วนนั้นมากเป็นพิเศษ เช่น ครูต้องการให้นักเรียนผู้นั้นมีความจำ ก็ให้ผู้เรียนเรียนสิ่งที่ต้องอาศัยความจำ
2. กลุ่มหน้าที่จิต (Functionalism)
- จอน์ ดิวอี้ (John Dewey)
- วิลเลียม เจมส์ (Williaam James)
- วู้ดเวิร์ธ ( R.S.wOODWORTH)
กลุ่มหน้าที่จิต พยายามหาคำตอบว่าอะไรเป็นสาเหตุทำให้มนุษย์มีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดีกว่าสัตว์ และยังเน้นการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์
จอน์ ดิวอี้ (John Dewey) มีความเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการกระทำ (Learning by doing) ประสบการณ์เป็นสิ่งสำคัญในการปรับตัวของมนุษย์
วิลเลียม เจมส์ (Williaam James) สัญชาตญาณเป็นส่วนที่ทำให้เราปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม
วู้ดเวิร์ธ ( R.S.wOODWORTH) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา วิธีการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์มากที่สุด วิธีการเรียนการสอนแบบแก้ปัญหา
3. กลุ่มพฤติกรรมนิยม ( Behavior) - วัตสัน (John B.Watson)
- พาฟลอฟ (Ivan P.Pavlov)
- ธอร์นไดค์ (Edward L.Thorndike)
- ฮัล (Clark L.Hull)
- โทลแมน (Edward C.Tolman)
นักจิตวิทยากลุ่มนี้ศึกษาเฉพาะ พฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ พฤติกรรมทุกอย่างต้องมีสาเหตุ สาเหตุมาจากสิ่งเร้า (Stimulus) เมื่อมากระตุ้นอินทรีย์ จะมีพฤติกรรมแสดงออกมา เรียกว่าการตอบสนอง(Respones)
แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา เป็นแนวทางในการควบคุมพฤติกรรมและการจัดสถาพการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมให้กับผู้เรียน
4. กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) - ฟรอยด์ (Sigmund Freud)
- แอดเลอร์ (Alfred Adler)
- จุง (Carl G.Jung)
ตามแนวคิดของ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) แบ่งลักษณะจิตเป็น 3 ส่วน
1.    จิตสำนึก (Conscious) แสดงความรู้ตังตลอดเวลา
2.    จิตใต้สำนึก (Subconscious) รู้ตัวตลอดเวลาแต่ไม่แสดงออกในขณะนั้น
3.    จิตไร้สำนึก (Unconscious)
ฟรอยด์เน้นความสำคัญเรื่อง จิตใต้สำนึก (Subconsious) ว่ามีอิทธิพลต่อพฤติกรรม ตามแนวคิดของ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง และเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาเกี่ยวกับแรงจูงใจต่าง ๆ และการศึกษาเรื่องพัฒนาบุคลิกภาพกับโครงสร้างของบุคลิกภาพจิตของมนุษย์แยกเป็น 3 ลักษณะ
1.       (Id) ส่วนที่ยังไม่ได้ขัดเลา แสวงหาความสุขความพอใจโดยถือตัวเองเป็นหลัก
2.       (Superego) ส่วนที่ได้มาจากการเรียนรู้เป็นส่วนที่คิดถึงผิดชอบชั่วดี คิดถึงคนอื่นก่อนตัดสินใจอะไรลงไป
3.       (ego) ส่วนที่เป็นตัวตัดสินใจโดยคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงในสภาพการณ์นั้น ๆ ทำความประนีประนอมระหว่างส่วนที่ยึดความสุขส่วนตัว กับส่วนที่รู้จักผิดชอบชั่วดี
แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา ใช้อธิบายเรื่องอิทธิพลของการพัฒนาในวัยเด็กที่มีผลต่อบุคลิกตอนโต
5. กลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Psychology)
- เวอร์ไธเมอร์ (Max Wertheimer)
- คอฟกา (Kurt Kofga)
- เลอวิน (Kurt Lewin)
- โคเลอร์ (Wolfgang Kohler)
Gestalt นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าต้องศึกษาพฤติกรรมทางจิตเป็นส่วนรวมจะแยกศึกษาทีละส่วนไม่ได้ ถ้าจะให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ต้องมีประสบการณ์เดิม พฤติกรรมการเรียนรู้มี 2 ลักษณะ
1.       การรับรู้ (Perception) เป็นพื้นฐานให้เกิดการเรียนรู้
2.       การเรียนรู้เป็นการแก้ปัญหาอย่างหนึ่ง การแก้ปัญหาของคนเราขึ้นอยู่กับ การหยั่งเห็น (Insight) เมื่อมีการการหยั่งเห็นเมื่อใดก็สามารถแก้ปัญหาได้เมื่อนั้น
แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา ช่วยในเรื่องการรับรู้และการเรียนรู้ของคนและนำไปใช้ได้มากในการจัดการเรียนการสอน
6. กลุ่มมนุษย์นิยม (Humanism)
- คาร์ล โรเจอร์ (Carl R.Rogers)
- มาสโลว์ (Abrahaham H. Maslow)
ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theory lening)
การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมเป็นพฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวรอันเป็นผลมาจากประสบการณ์
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอาจมี 3 ด้านดังนี้ (ตามหลัก Bloom)
1.       พฤติกรรมด้านสมอง (Cognitive Domain) ได้แก่ ความรู้ จำ ความเข้าใจ
2.       พฤติกรรมด้านจิตใจ (Affective Domain) ได้แก่ อารมณ์ ความเชื่อ ความสนใจ ทัศนคติ
3.       พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท
ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theory leaning) แบ่งได้ 2 กลุ่มใหญ่ ๆ
1.       ทฤษฎีความต่อเนื่อง (Associative)
การเรียนรู้โดยมีสิ่งเร้ามาเชื่อมโยงทำให้เกิดการตอบสนองขึ้น
แบ่ง 2 กลุ่ม
  • ทฤษฎีความเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับการตอบสนอง (Connectionism)
นักทฤษฎี Thorndike ,Guthrie ,Hull
  • ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning)
แบบคลาสสิค (Classical) ได้แก่ Pavlov
แบบการกระทำ (Operant) ได้แก่ Skinnre
1.       ทฤษฎีความเข้าใจ (สนาม)
ได้แก่ Gestalt
- เวอร์ไธเมอร์ (Max Wertheimer)
- คอฟกา (Kurt Kofga)
- เลอวิน (Kurt Lewin)
- โคเลอร์ (Wolfgang Kohler)
ทฤษฎีเชื่อมโยง Thorndike หรือเรียกว่า ทฤษฎีลองผิดลองถูก (Trial and Error) ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง

การทดลอง เอาแมวหิวใส่กรง
สิ่งเร้า S R2 S R R3 การตอบสนอง
กฎการเรียนรู้ 3 กฎ
1.       กฎแห่งผล (Law of Effect) คือ การเรียนรู้จะเกิดผลดีถ้ามีการเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับการตอบสนองในลักษณะที่พอใจ
2.       กฎแห่งการฝึก (Law of Exercise) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่ออินทรีย์ได้รับการฝึกฝนบ่อยครั้ง
1.       กฎแห่งการใช้ (Law of Used) มีการกระทำหรือใช้บ่อย ๆ การเรียนรู้จะยิ่งคงทนถาวร
2.       กฎแห่งการไม่ใช้ (Law of Disused) ไม่มีการกระทำหรือไม่ใช้การเรียนรู้ก็อาจเกิดการลืมได้
3.       กฎแห่งความพร้อม ((Law of Leadines)การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนพร้อมที่จะเรียน
หลักการที่สำคัญของทฤษฎีนี้ ถือว่า รางวัลเป็นสิ่งที่สำคัญทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ วิธีการให้รางวัลสมควรให้ผู้เรียนให้ทันทีที่ได้กระทำพฤติกรรมนั้น
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข แบบการกระทำ (Skinner’ s Operant Conditioning)
การทอลอง เอนหนูใส่กล่องเก็บเสียงฝากล่องมีคานยื่นมา เมื่อหนูกดคานจะบังคับอาหารให้หล่นลงมา
หนูต้องทำจึงได้รับ R (การกดคาน) S (อาหาร)
การเสริมแรง เป็นหลักในการนำมาสร้างบทเรียนโปรมแกรม หรือบทเรียนสำเร็จรูป (จะมีคำถามและคำตอบ)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข แบบแบบคลาสสิค (Classical Conditioning) ของ Pavlovการทดลอง เอาหมาที่กำลังหิวยืนบนแท่นมีที่รั้งไม่ให้สุนัขเคลื่อนที่ เจาะรูเล็ก ๆ ที่แก้มเอาหลอดยาใส่ท่อน้ำลาย ผลการทดลองของ ฟาลอฟ ประกอบด้วย
วางเงื่อนไข แบบแบบคลาสสิค = สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข + สิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข = การเรียนรู้
ถ้าจะให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีต้องมีการวางเงื่อนไขพร้อม ๆ กัน คือให้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขในเวลาพร้อมกัน
กฎการเรียนรู้ 4 กฎ
1.       กฎการลบพฤติกรรม (Law of Extinction) การตอบสนองที่เคยปรากฏจะไม่ปรากฏถ้านำสิ่เร้านั้นออก
2.       กฎการคืนสภาพเดิม (Law of Spontaneous recovery) หลังจากที่ลบพฤติกรรมนั้นไปแล้วจะไม่เกิดพฤติกรรมที่วางเงื่อนไขนั้นอีก แต่ระยะหนึ่งหรือบางครั้งก็อาจเกิดพฤติกรรมนั้นได้อีก
3.       กฎการสรุปความเหมือน (Law of Generalization) ถ้ามีสิ่งเร้าอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่มีการวางเงื่อนไข อินทรีย์จะตอบสนองเหมือสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขนั้น
4.       กฎการจำแนกความแตกต่าง (Law of Discrimination) เป็นลักษณะที่ผู้เรียนสามารถแยกแยะสิ่งที่แตกต่างกันได้เช่น งูเห่ามีพิษ งูสิงห์ไม่มีพิษ
ฉะนั้นหลักการสำคัญ Classical Conditioning จะเน้นปฏิกิริยาสะท้อนของมนุษย์ที่เกิดขึ้น และนำเอาปฏิกิริยาสะท้อนเหล่านั้นมาวางเงื่อนไขคู่กับ สิ่งเร้าต่าง ๆ สิ่งเร้าต่าง ๆ จะทำให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ขึ้น
กฎการเรียนรู้ของกลุ่ม กลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Psychology)
การเรียนรู้เรียนที่เน้นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อย การเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้นใน 2 ลักษณะ
1.       การรับรู้ (Perception) การแปลความหมายจากการสัมผัสด้วยอวัยวะสัมผัส 5 ส่วน หู- ตา จมูก ลิ้น กาย
2.       การหยั่งเห็น (Insight) การเกิดความคิดขึ้นมาทันทีทันใดในขณะประสบปัญหา โดยการมองเห็นปัญหาตั้งแต่เริ่มแรก จนแก้ปัญหาได้
สรุปแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ แต่ละท่านได้ดังนี้
1.       การเรียนรู้แบบหยั่งรู้ (Insight Learning) เจ้าของทฤษฎีคือ โคเลอร์ (Wolfgang Kohler) โดยจะรวมปัญหาแล้วจึงแยกเป็นข้อย่อย ก็จะเกิดความคิดขึ้นมาทันที ที่เรียกว่าการหยั่งเห็น
การหยั่งเห็นจะเกิดขึ้นรวดเร็วขึ้นอยู่กับ
1. มีแรงจูงใจ , 2. มีประสบการณ์เดิม ,3.มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งเร้ากับปัญหาได้
2.       หลักการเรียนรู้ของ เลอวิน (Kurt Lewin) ได้แยกมาตั้งทฤษฎีใหม่ ชื่อว่า ทฤษฎีสนาม (Field Theory) การเรียนรู้เกิดจากการสร้างแรงขับให้เกิดขึ้น แล้วพยายามชักนำพฤติกรรมการเรียนรู้ไปจุดหมายปลายทาง (goal) เพื่อตอบสนองแรงขับที่เกิดขึ้น
การถ่ายโยงการเรียนรู้ (Transfer of Learning)
การเรียนรู้อย่างหนึ่งแล้วมีผลต่อการเรียนรู้อีกอย่างหนึ่ง อาจมีผลทางบวก ลบ ก็ได้ เช่น การเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องเลขยกกำลัง ก็สามารถถ่ายโยงไปมีผลกับเรื่องแยกตัวประกอบได้ การถ่ายโยงจึงเป็นการที่บุคคลนำสิ่งหนึ่งไปใช้กับอีกสิ่งหนึ่งการถ่ายโยงการเรียนรู้มี 2 ประเภท
1.       การถ่ายโยงการเรียนรู้ประเภทบวก (Positive Transfer of Learning) การเรียนรู้สิ่งหนึ่งมีผลกับการเรียนรู้อีกสิ่งหนึ่งในทางดีขึ้น
    • เรียนคณิตศาสตร์เก่งจะนำไปสู่การเรียน ฟิสิกส์ เคมี ได้ดี
    • การเตะบอล นำไปสู่การเล่นทีม
1.       การถ่ายโยงการเรียนรู้ประเภทลบ (Negative Transfer of Learning) การเรียนรู้สิ่งหนึ่งมีผลกับการรู้อีกสิ่งหนึ่งในทางเลวลง
    • การขับรถเมืองไทย เลนซ้าย ไปอีกประเทศหนึ่งต้องขับเลนขวา ทำให้ประสิทธิภาพลดลง


ปัจจัยเสริมการเรียนรู้
แรงขับ (Drive) แรงผลักดันที่เกิดขึ้นภายในร่างกายเพื่อให้ร่ายกายแสดงพฤติกรรมออกมา แรงขับเกิดจากความไม่สมดุลของร่างกาย
แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
o    แรงขับปฐมภูมิ (Primary Drive) เป็นแรงขับที่เกิดจากสิ่งเร้าภายในมีความสำคัญมาก เช่น หิว กระหาย อยากเรียน
o    แรงขับทุติยภูมิ (Secondary Drive) เป็นแรงขับที่เกิดจากสิ่งเร้าภายนอก เช่น ต้องการมีชื่อเสียง ต้องการรางวัล
ความพร้อม (Readiness) ความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ พร้อมที่จะตอบสนองกับสิ่งที่มาเร้า
    • ทางร่างกาย ได้แก่ วุฒิภาวะ (Maturity) - ทางจิตใจ ได้แก่ ความพอใจ
วุฒิภาวะ (Maturity) การบรรลุถึงขั้นความเจริญเติบโตเต็มที่ ในระยะใดระยะหนึ่ง และพร้อมที่จะประกอบกิจกรรมได้พอเหมาะกับวัย
องค์ประกอบที่ทำให้เด็กเกิดความพร้อมในการเรียน
1.       วุฒิภาวะ (Maturity) การเจริญทั้งร่างกาย จิตใจ
2.       ประสบการณ์เดิม (Experience)
3.       การจัดบทเรียนของครู โดยดูพื้นฐานของเด็กว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรบางมากน้อยเพียงใด
4.       การสอนของครู ครูควรสอนเมื่อนักเรียนมีความพร้อม และครูเป็นผู้สร้างความพร้อมให้กับนักเรียน
1.       ลำดับขั้นความต้องการ ความต้องการ แบ่งเป็น 2 ประเภท
    • ความต้องการทางกาย ต้องการอาหาร น้ำ เพศ
    • ความต้องการทางจิตใจ ความรัก
มาสโลว์ (Maslor) ความต้องการของมนุษย์แบ่งได้ 5 ขั้น
1.       ความต้องการทางร่างกาย หิว กระหาย เพศ
2.       ความต้องการทางความปลอดภัย
3.       ความต้องการทางความรัก
4.       ความต้องการทางเกียรติ ชื่อเสียง
5.       ความต้องการในการยอมรับความสามารถ
1.       อารมณ์และการปรับตัว (Emotion and Adjustment) เป็นความรู้สึกที่เกิดจากการถูกกระตุ้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งเร้าภายใน แรงขับ สิ่งเร้าภายนอก อารมณ์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทาง ร่างกาย จิตใจ อารมณ์เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ อารมณ์ บวก พอใจ ดีใจ อารมณ์ทางไม่ดี โกธร เสียใจ อิจฉา ความรุนแรงของอารมณ์ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ อากาศเย็นทำให้อารมณ์ดี สภาพร่างกาย ร่างกายสมบูรณ์ก็ทำให้อารมณ์ดี ทัศนคติ แนวโน้มที่ชอบหรือไม่ชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ย่อมทำให้อารมณ์เสียได้ง่าย
นักจิตวิทยาได้กล่าวถึงกลวิธีในการปรับตัว (Defense mechanism) มีหลายวิธีการ สรุปได้ดังนี้
การหาเหตุผลเข้าข้างตัวเอง (Rationalization) ไม่ยอมรับตนเองโดยหาเหตุผลมาลบล้าง
-          การอ้างว่าชอบหรือไม่ชอบ
-          องุ่นเปรี้ยว
-          มะนาวหวาน
-          การโยนความผิดไปให้ผู้อื่น (Projection) เอาความผิดของคนอื่นมาลบล้างความผิดของตน
-          รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง
-          สอบตกแล้วว่าอาจารย์สอนไม่ดี
การปรับตัวโดยหาสิ่งอื่นมาแทนที่ (Substitution)
-          การชดเชย (Compensation)
-          การทดแทน (Sublimation)
การชดเชยไม่ต้องแทนสิ่งที่เหมือนกัน การทดแทนแทนด้วยสิ่งที่เหมือนกัน
1.       การเก็บกด (Repression) วิธีการลืมเหตุการณ์หรือความคิดที่ไม่ถูกต้องที่อยู่ในจิตใต้สำนึก
2.       การย้ายอารมณ์ (Displacement) เป็นการการย้ายอารมณ์ที่ไม่พอใจจากสิ่งหนึ่งไปสิ่งหนึ่ง โกธรกับผัวที่บ้า ไประบายอารมณ์กับนักเรียน
1.       การจูงใจ (Motivation) การกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การให้รางวัล
การจูงใจประกอบด้วย 2 ส่วน
    • แรงจูงใจ (Motivation) สภาวะใด ๆ ก็ตามที่กระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมา
    • สิ่งจูงใจ (Incentive) รางวัล
การจูงใจจะมีมากน้อยขึ้นอยู่กับ
1.       แรงจูงใจภายใน เป็นพฤติกรรมที่บุคคลต้องการเรียนรู้บางสิ่งบางอย่างด้วยตนเอง เช่น ความต้องการ ความสนใจ ทัศนคติ
2.       แรงจูงใจภายนอก เป็นพฤติกรรมที่บุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้าภายนอก เร้าให้เกิดความต้องการ เช่น เงินเดือน คำชมเชย
1.       ทัศนคติ และความสนใจ ความพร้อมของร่างกาย จิตใจที่มีแนวโน้มจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือสถานการณ์ใด ๆ ด้วยการเข้าหาหรือถอยหนี แบ่งเป็น 2ประเภท
1.       ทัศนคติทางบวกหรือทัศนคติที่ดี แนวโน้มที่จะเข้าหาสิ่งเร้า หรือสถานการณ์นั้น ๆ ด้วยความชอบ พอใจ
2.       ทัศนคติทางลบหรือทัศนคติไม่ดี แนวโน้มที่จะถอนหนีสิ่งเร้า หรือสถานการณ์นั้น ๆ ด้วยความไม่ชอบ ไม่พอใจ
ลักษณะทั่วไปของทัศนคติ
1.       ทัศนคติที่เกิดจากการเรียนรู้ หรือได้รับประสบการณ์ ไม่ได้ติดตัวมาแต่เกิด
2.       ทัศนคติจะเป็นตัวชี้ในการแสดงพฤติกรรม
3.       ทัศนคติไม่สามารถถ่ายทอด จากบุคคลหนึ่งไปอีกบุคคลหนึ่งได้
4.       ทัศนคติสามารถเปลี่ยนแปลงได้
ทัศนคติจึงเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งในการเรียนรู้ของเด็ก
ความสนใจ (Interest) มีลักษณะใกล้เคียงกับทัศนคติ แต่ความสนใจเป็นส่วนหนึ่งของทัศนคติ ความสนใจเป็นความรู้สึกที่ดีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (ทัศนคติทางบวก) ความสนใจของนักเรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันเพราะ ความต้องการ ถนัด สภาพแวดล้อมที่ต่างกัน
การสร้างความสนใจ
1.       ศึกษาความต้องการของผู้เรียน เพื่อจัดกิจกรรมการเรียน สื่อต่าง ๆ
2.       สำรวจพื้นฐานความถนัด
3.       จัดห้อง สภาพแวดล้อมให้น่าสนใจ
4.       เสริมแรงโดยพยายามให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จ
5.       ชี้ทางความก้าวหน้าในการทำงาน เพื่อให้เขามีความสนใจ
1.       มโนภาพ (Concept formation) นักจิตวิทยาเรียกต่างกันไป ความคิดรอบครอบ มโนทัศน์ สังกับConcept การเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2.       การจำ (Memory) ความสามารถในการสะสมประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้รับจากการเรียนรู้ แล้วสามารถถ่ายทอดในรูปของการระลึกได้ การจำต้องประกอบด้วยพฤติกรรมต่าง ๆดังนี้
1.       การเรียนรู้
2.       ความสามารถในการสะสม รวบรวมประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดจากการเรียนรู้
3.       ความสามารถในการถ่ายทอดได้ สามารถเล่า ถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้
4.       รู้สึกได้
5.       จำได้
1.       เชาว์ปัญญาและความถนัด
เชาว์ปัญญา (Intelligence) สมรรถภาพของสมองที่แสดงความสามารถด้านความจำ การคิดอย่างมีเหตุผลAlfres Brnet อัลเฟรด บิเนท์ ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งเชาว์ปัญญา เป็นคนแรกที่สร้างแบบทดสอบเชาว์ปัญญา
I.Q. (Intelligence Quotient) เกณฑ์ภาคเชาวน์ คือ ความสามารถในการศึกษา อาชีพ การปรับตัว
140 ขั้นไป = ฉลาดที่สุด
121 – 140 = อัจฉริยะ
111 - 120 = ฉลาดมาก
91 – 90 = ทึบ
71 – 80 = คาบเส้น
51 – 70 = ปัญญาอ่อนเล็กน้อย
26 – 50 = ปัญญาอ่อน
0 – 25 = โง่บัดซบ